คำนวณคลอเลสเตอรอลออนไลน์


คำนวณคลอเลสเตอรอลออนไลน์
รายละเอียด : คลอเลสเตอรอล [Total cholesterol] เป็นสารที่สำคัญของร่างกาย ประกอบด้วย ไขมันชนิดดี [HDL-c], ไขมันชนิดร้าย [LDL-c] และ ไขมัน VLDL เมื่อมีปริมาณพอเหมาะไม่มากเกินไป นั้นคือเป็นองค์ประกอบเยื่อหุ้มเซลล์ทั่วร่างกาย เป็นวัตถุดิบให้ร่างกายผลิตน้ำดี (Bile) เพื่อใช้ในการย่อยอาหารประเภทไขมัน และดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ, ดี, อี และ เค นอกจากนั้น ร่างกายยังนำ คลอเลสเตอรอลไปใช้ในการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และฮอร์โมนเพศอีกด้วย แต่หากร่างกายมีปริมาณคลอเลสเตอรอลมากเกินไป ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยที่ คลอเลสเตอรอลจะไปสะสมเกาะตามผนังหลอดเลือด และสามารถอุดตันหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตามมา

การตรวจ Total chloresterol สำคัญอย่างไร

การตรวจค่าคลอเลสเตอรอล มีประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงการพัฒนาของโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหัวใจ เพราะคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงมีความเกี่ยวข้องกับภาวะโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ และสามารถเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้นการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคต่างๆดังกล่าว

ตรวจบ่อยแค่ไหน

สำหรับผู้ใหญ่ทุกท่าน แนะนำตรวจคัดกรองคลอเลสเตอรอล อย่างน้อยทุกๆ 5 ปี โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาตรวจกับค่าไขมันอื่นๆ เช่น ไขมันชนิดดี [HDL-c], ไขมันชนิดร้าย [LDL-c] และ ไตรกลีเซอไรด์ [TG]
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปที่มีปัจจัยเสี่ยง (Major risk factors) ของการเกิดโรคหัวใจ ควรพิจารณาตรวจติดตามค่าคลอเลสเตอรอล ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดัง ตารางที่ 1

คำนวณคลอเลสเตอรอลออนไลน์
mg/dL

เป้าหมายของการรักษา ดังนี้

        หากแพทย์พิจารณารักษา ประเมินจากความสูงของค่าคลอเลสเตอรอล และส่วนใหญ่เป้าหมายหลักคือเพื่อลดค่าไขมันให้ได้ค่าที่เหมาะสม โดยเฉพาะค่าไขมันชนิดร้าย [LDL-c]

การจัดการ หากสาเหตุต้องรักษาภาวะคลอเลสเตอรอลสูง

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทุกท่าน ดังนี้
    • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทานอาหารไม่มากเกินจำเป็น ลดบริโภคประเภทไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ เนย มะพร้าว กะทิ เป็นต้น และอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลสูง เช่น ปลาหมึก ไข่ กุ้ง หอย ร่วมทั้งอาหารมีน้ำตาลปริมาณมาก เป็นต้น
    • และ เพิ่มการบริโภคอาหารพวกพืชผักผลไม้ ที่มีเส้นใย (fiber) ให้มาก
    • และ ลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสม เพิ่มการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน   5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น การออกกำลังกาย การเดินเร็ว ซึ่งควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล
    • และ เลิกบุหรี่
    • ลดความเครียด ความวิตกกังวล เนื่องจากทำให้ร่างกายผลิตคลอเลสเตอรอลขึ้นมาเกินความจำเป็น
2. ผู้ที่ต้องรับประทานยาลดไขมันตามแพทย์สั่ง ต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษาให้เหมาะสม
3. ผู้ที่ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินการรักษาที่เหมาะสม และเพื่อติดตามผลการรักษา

ข้อควรทราบ

1. หากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
2. เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีที่มีน้ำหนักเกิน (Overweight) หรืออ้วน (Obesity) ควรพิจารณาตรวจติดตามค่าคลอเลสเตอรอลอย่างน้อยทุก 2 ปี โดยเกณฑ์ในเด็กหรือในวัยรุ่นอาจมีความแตกต่างจากในผู้ใหญ่ ดังนั้นพิจารณาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
3. ท่านควรแจ้งแพทย์ก่อนหากท่านได้รับยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรอยู่ ซึ่งอาจมีผลเพิ่มระดับ  คลอเลสเตอรอลได้
4. ท่านควรแจ้งแพทย์ก่อน หากท่านมีภาวะติดเชื้อ, เจ็บป่วยเฉียบพลัน (acute illness), อยู่ในระหว่างการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุ (stress like from surgery or an accident) ผลการตรวจอาจผิดพลาดจากความจริงได้ ท่านควรรออย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังอาการต่างๆหายไป
5. ผู้หญิงตั้งครรภ์ อาจจะมีค่าคลอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ ดังนั้นอาจจะพิจารณารออย่างน้อย หลังคลอด 6 สัปดาห์เพื่อตรวจอีกครั้ง