เครื่องมือคำนวณระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL)ออนไลน์


เครื่องมือคำนวณระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL)ออนไลน์
รายละเอียด : การตรวจวัดค่า LDL-c เป็นการวัดปริมาณไขมันชนิดร้าย เพื่อประเมินภาวะโรคไขมันในเลือดเนื่องจาก LDL-c เป็นตัวนำพาไขมันคลอเลสเตอรอล (cholesterol) ไปส่วนต่างๆของร่างกาย โดยปกติ คลอเลสเตอรอล สำคัญกับการสร้าง สเตียรอยด์ฮอร์โมนและจำเป็นในเซลล์ต่างๆของร่างกาย แต่หากร่างกายมี LDL-c ปริมาณสูงเกินความจำเป็น LDL-c จะนำพาไขมันคลอเลสเตอรอล จะไปเกาะอยู่ที่หลอดเลือดทั่วร่างกาย จนในที่สุดอุดตัดหลอดเลือด นำไปสูโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองตามมา

การตรวจ LDL-c สำคัญอย่างไร

การตรวจค่า LDL-c สามารถบ่งชี้ถึงอันตรายและความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ(coronary heart disease, CHD) และสมอง ที่ส่งผลให้หัวใจขาดเลือดและเกิดอาการแสดงต่างๆ ตามมาจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการวัดค่า LDL-c และนำไปสู่การแก้ไขจึงเป็นเป้าหมายหลัก ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง และเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอย่างแรกในการลดระดับไขมันในเลือด

ตรวจบ่อยแค่ไหน

การตรวจ LDL-c ควรเริ่มตรวจในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังตารางที่ 3 โดยทั่วไปในผู้ใหญ่สุขภาพดีตรวจทุก 5 ปี และควรติดตามผล LDL-c หลังจากนั้นขึ้นกับปริมาณที่วัดได้ และความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หากมีความเสี่ยงควรมีการตรวจติดตามประมาณทุกๆ ครึ่งเดือน ถึง 3 เดือน และขึ้นกับดุลพินิจการแพทย์ผู้รักษา

ค่า LDL-c แปลผลอย่างไร

การวัดค่า LDL-c สามารถวัดได้จากการคำนวณ (calculated, calc.) จากผลของการวัดค่าไขมันทั้งหมด ที่ผ่านการงดอาหารก่อนเจาะเลือด 12 ชม. [สามารถทานน้ำได้ปกติ] คือ ไขมันรวม (total cholesterol: TC), ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides:TG) และ ไขมันชนิดดี (high-density lipoprotein cholesterol: HDL-c) แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ค่าการตรวจไตรกลีเซอไรด์ ต้องไม่สูงเกินกว่า 400 mg/dL มิฉะนั้นผลการตรวจ LDL-c จากการคำนวณผิดพลาดได้ ซึ่งคำนวณจาก LDL = TC - (HDL + TG/5) แต่หากมีค่าไตรกลีเซอไรด์ สูงเกินกว่า 400 mg/dL หรือ ต้องการตรวจเฉพาะ LDL-c เท่านั้น สามารถตรวจได้โดยตรงที่เรียกว่า Direct-LDL-c โดยไม่ต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือด

ความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจดังนี้ [ให้พิจารณาว่าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่านกี่ข้อ เพื่อนำไปประเมินเป้าหมายการรักษา ตารางที่ 2 ด้านบนต่อไป]

• สูบบุหรี่
• อายุของท่าน [ผู้ชายอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี หรือ ผู้หญิงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปี]
• ค่าตรวจไขมันชนิดดี (HDL-c) น้อยกว่า 40 mg/dL
• ท่านมีโรคความดันในเลือดสูง [คือ ค่าความดันมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mm/Hg หรือรับประทานยาลดความดันอยู่]
• มีประวัติครอบครัว [พ่อแม่พี่น้องสายเลือดเดียวกัน] เป็นโรคหัวใจ โดยเพศชายพบในอายุต่ำกว่า 55 ปี หรือเพศหญิงพบในอายุต่ำกว่า 65 ปี
• ท่านมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ (coronary heart disease)
• ท่านเป็นเบาหวานอยู่
แต่หากท่านมีค่าไขมันชนิดดี (HDL-c) มากกว่า 60 mg/dL ถือว่าเป็นผลดี ดังนั้นหักลบความเสี่ยงรวมออก 1 คะแนน

เครื่องมือคำนวณระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL)ออนไลน์
mg/dL

การจัดการ

1. หากท่านมีค่าการตรวจ LDL-c สูง เป้าหมายการรักษา [หลังจากประเมินความเสี่ยงแล้ว]
    1.1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทุกท่าน ดังนี้
        • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดบริโภคไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ เนย มะพร้าว กะทิ เป็นต้น และอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลสูง เช่น ปลาหมึก ไข่ กุ้ง หอย เป็นต้น
        • และ เพิ่มการบริโภคอาหารพวกพืชผักผลไม้ ที่มีเส้นใย (fiber) ให้มาก
        • และ ลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสม เพิ่มการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น การออกกำลังกาย การเดินเร็ว ซึ่งควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล
        • และ เลิกบุหรี่
    1.2 ผู้ที่ต้องรับประทานยาลดไขมันตามแพทย์สั่ง ต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษาให้เหมาะสม
        • ผู้ที่มีภาวะโรคหัวใจ และ/หรือโรคเบาหวาน ที่มีค่าตรวจ LDL มากกว่า 100 mg/dL ดังตารางที่ 2
    1.3 ผู้ที่ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินการรักษาที่เหมาะสม และเพื่อติดตามผลการรักษา
        • ผู้ที่มีไม่มีความเสี่ยง หรือความเสี่ยง 1 ข้อขึ้นไป และผลการตรวจ LDL ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ดังตารางที่ 2

ข้อควรทราบ   

1. หากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
2. เกณฑ์ความเสี่ยงในเด็กหรือในวัยรุ่นอาจมีความแตกต่างจากในผู้ใหญ่ ดังนั้นพิจารณาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเด็ก
3. ท่านควรแจ้งแพทย์ก่อนหากท่านมีภาวะไทรอยด์สูง (hyperthyroid), ติดเชื้อ, เจ็บป่วยเฉียบพลัน (acute illness), อยู่ในระหว่างการผ่าตัดหรืออุบัติเหตุ (stress like from surgery or an accident)หรือมีภาวะตับแข็ง (cirrhosis) ผลการตรวจอาจมีค่าต่ำกว่าความเป็นจริงได้
4. ผู้หญิงตั้งครรภ์ อาจจะมีค่า LDL-c สูงขึ้นได้ ดังนั้นอาจจะพิจารณารออย่างน้อย หลังคลอด 6 สัปดาห์เพื่อตรวจ LDL-c อีกครั้ง